top of page

GEOGRAPHY

priestborrow-map-04.png

              พริสท์โบโรว์มีสภาพเป็นเกาะภูเขาไฟ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเอเดน ประกอบด้วยภูเขาไฟขนาดใกล้เคียงกันสองลูกที่ถูกปกคลุมไปด้วยป่าไม้ผลัดใบที่มีอายุเก่าแก่กว่าหลายชั่วอายุคน เรียกว่าเขาอาทิตย์และเขาจันทรา บนยอดภูเขาไฟทั้งสองเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเกาะกลางบึง (ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชวังและวิหารแห่งท้องทะเล) ตามตำนานมักจะกล่าวอ้างว่าส่วนยอดของภูเขาทั้งสองนั้นเป็นส่วนศีรษะทั้งสองของมังกรน้ำในตำนาน และบึงเหนือยอดปล่องภูเขาไฟเกิดจากฤทธิ์ของมันที่เล็ดรอดจากผนึกของนักบวช

Onekotan-Kurile-Islands.jpg

ลักษณะของเกาะกลางบึงบนยอดภูเขาไฟโดยประมาณ cr: Photo by Dr. Igor Smolyar, NOAA/NODC

2884027_thumb.jpg
Climate

 

          พริสท์โบโรว์ประกอบด้วยสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย พื้นที่โดยมากจะมีสี่ฤดู เว้นเฉพาะพื้นที่บางส่วน เช่นเขตหินโสโครกทางตอนเหนือที่จะมีเพียงสองฤดู คือฤดูร้อน และฤดูฝนเท่านั้นตามปกติแล้ว อุณหภูมิยอดเขาและส่วนชายหาดจะมีความแตกต่างกันประมาณหนึ่ง โดยที่ส่วนยอดของภูเขาทั้งสองจะหนาวเย็นกว่าส่วนของหน้าหาดตลอดทั้งปี

  • ฤดูหนาว สามารถพบหิมะได้ในบริเวณส่วนยอดของภูเขาไฟทั้งสอง แต่ความหนาวเย็นไม่มากพอที่จะแช่แข็งน้ำในบึงได้ มักมีลูกเห็บในช่วงรอยต่อระหว่างฤดูใบไม้ร่วงและฤดู หนาว ปรากฏหมอกในช่วงเช้าตรู่ หากมองลงมาจากส่วนยอดของภูเขาจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกปกคลุมเหนือเกาะได้ ในฤดูนี้ไม่สามารถออกเรือหรือลงสู่ทะเล เนื่องจากสภาพน้ำที่หนาวเย็นเกินไป

  • ฤดูใบไม้ผลิ มีอากาศที่อบอุ่นขึ้นกว่าในฤดูหนาว และจะอบอุ่นขึ้นเรื่อยๆ เป็นฤดูที่ทั้งเมืองจะถูกปกคลุมไปด้วยสีเขียวอ่อนของไม้ที่เริ่มผลิใบใหม่ และสีสันของดอกไม้ เป็นฤดูที่ผู้คนเริ่มทำการเพาะปลูกและออกสู่ทะเลอีกครั้ง ยังคงสามารถพบทะเลหมอกได้บ้างในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ แต่จะน้อยลงเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่ช่วงไม้ผลิใบ อาจมีน้ำหลากในช่วงต้นฤดูกาลจากปริมาณหิมะยอดเขาที่ละลายตัวลงมา แต่ไม่รุนแรงเท่าฤดูใบไม้ร่วง

  • ฤดูร้อน เป็นฤดูที่นักเดินทางนิยมเดินทางมายังพริสท์โบโรว์มากที่สุด เป็นฤดูที่เต็มไปด้วยเทศกาลและงานรื่นเริงตามแบบของพริสท์โบโรว์ ในฤดูกาลนี้อุณหภูมิของสภาพอากาศบนเกาะจะเพิ่มสูง ในขณะที่น้ำทะเลจะอุ่นพอดีสำหรับลงเล่น มีโอกาสน้อยที่จะพบฝนตกในกลางฤดูร้อน

  • ฤดูใบไม้ร่วง สีสันบนเกาะจะถูกเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ขณะที่ปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้น มักมีมรสุมเป็นระยะ ส่งผลให้เกิดน้ำหลากลงจากยอดเขาทั้งสองเป็นประจำ ขณะที่อุณหภูมิลดต่ำลงเรื่อยๆ เป็นฤดูกาลที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้มากที่สุด แต่การเดินเรือประมงกลับลดน้อยลงตามสภาพอากาศ

หมอกฤดูหนาวที่ทะเลฟากเหนือของเกาะ cr: Photo by Nick Lisitsin

Caras Galadhon.jpg

ลักษณะบ้านในตัวเมืองพริสท์โบโรว์ cr: Illustrated by Paul Lasaine

Architectures of Priestborrow

             ที่ตั้งของตัวเมืองพริสท์โบโรว์นั้นหลบซ่อนอยู่ในป่าบนภูเขาทั้งสอง โดยเกาะกลางบึงของเขาอาทิตย์นั้นเป็นที่ตั้งของวังหลวง และเกาะกลางบึงของเขาจันทรานั้น เป็นที่ตั้งของวิหารแห่งท้องทะเล ตัวเมืองจะแบ่งชั้นตามระดับความสูงของภูเขา ถัดลงมาจากบริเวณยอดเขาเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการสำคัญและเป็นแหล่งอยู่อาศัยของประชาชน ชั้นถัดๆลงมาจึงเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งเพาะปลูก นั่นทำให้พริสท์โบโรว์ถูกแบ่งออกเป็นสองเมืองย่อยหลักๆ แม้ไม่ได้มีการตั้งชื่อเรียกที่ชัดเจน เนื่องจากผู้คนจากภูเขาทั้งสองลูกยังคงไปมาหาสู่กันอยู่แทบตลอดเวลา
           
             สถาปัตยกรรมแบบพริสท์โบโรว์ถูกสร้างขึ้นโดยอิงหลักความเชื่อและสภาพแวดล้อม โดยมากถูกสร้างขึ้นจากไม้และหิน และจะสร้างโดยอิงต้นไม้ในป่าเป็นเสาหลัก ยกตัวบ้านขึ้นสูงจากพื้นดิน มีลักษณะแบบที่เรียกว่าบ้านต้นไม้ และมีสะพานเชื่อมหากันจากต้นสู่ต้นแทนถนนเบื้องล่าง เนื่องมาจากวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และฤดูน้ำหลากในช่วงใบไม้ร่วงที่มักจะแวะเวียนมาเสมอๆ มีเพียงสถานที่บางแห่งเท่านั้นที่ตั้งอยู่บนพื้นดิน เช่นวังหลวง วิหารแห่งท้องทะเล ท่าเรือหลัก และโรงหลอมแก้ว

             จุดเด่นอีกประการของตัวเมืองพริสท์โบโรว์คือหิ่งห้อยสีฟ้า ซึ่งเป็นหิ่งห้อยสายพันธุ์ที่สามารถพบได้เพียงแค่บนเกาะเท่านั้น ปรากฏตัวในทุกฤดูกาล ยกเว้นฤดูหนาว และจะพบได้มากในช่วงหน้าร้อน โดยสามารถพบได้รอบเกาะภายในบริเวณที่ป่าปกคลุม คนเก่าแก่มีความเชื่อว่าหิ่งห้อยดังกล่าวเปล่งประกายสีฟ้าได้ด้วยอาคมของมังกรน้ำสองเศียรที่ถูกผนึกไว้ใต้เกาะ

priestborrow-logo-03_edited.png
bottom of page